Mysteryworld
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Go down
avatar
Admin
Admin
จำนวนข้อความ : 5
Join date : 21/06/2018
https://mysteryworld.thai-forum.net

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ Empty มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ

Thu Jun 21, 2018 11:59 pm
มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ Ring01

บทแห่งดิน
บทแห่งดิน เป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจถึง “วิถีแห่งกลยุทธ์” ("ศิลปะการต่อสู้") และกล่าวถึงแนวทางของสำนัก ที่ไม่ได้เน้นเพียงการฝึกฝนเพลงดาบ หากแต่จะสำเร็จวิถีแห่งยุทธ์ จำต้องรู้ถึงสรรพสิ่งทั้งในแนวกว้างและในเชิงลึก

“มุซาชิ” อธิบายว่า “กลยุทธ์” คือ วิถีแห่งนักสู้ไม่ว่านายทัพหรือพลทหารล้วนแล้วแต่ต้องรู้ถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ แต่น่าเสียดายว่ากลับไม่มีนักสู้ใดที่เข้าใจถึง “วิถีแห่งกลยุทธ์” อย่างถ่องแท้

สรรพสิ่งล้วนมี วิถีพุทธ คือ วิถีแห่งความพ้นภัย การศึกษา คือ วิถีแห่งนักปราชญ์ และ การแพทย์ คือวิถีแห่งการรักษาเยียวยา แม้แต่กวีนิพนธ์ การชงชา การจัดดอกไม้ ตลอดจนศิลปะแขนงต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มี ”วิถี” ของมันให้ฝึกฝน

   1. พุทธศาสนา คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น

   2. คำสอนของขงจื้อ คือ วิถีแห่งวัฒนธรรม

   3. ยา คือ วิถีแห่งการรักษาโรคหนึ่งๆ

   นอกจากนี้ ท่านยังได้ยกตัวอย่างเช่น วิถีชงชา วิถีแห่งการยิงธนู ซึ่งผู้ฝึกวิถีเหล่านี้ สนุกสนานไปกับการฝึกฝนมาจากก้นบึ้งหัวใจ แต่ผู้ฝึกฝนวิถีแห่งการต่อสู้นั้น หาได้ยาก ที่จะฝึกฝนและสนุกไปกับมันเช่นเดียวกับผู้ฝึกวิถีเหล่านี้ (ในความหมายของสนุกสนานคือ ฝึกด้วยความจริงใจและฝึกด้วยความสุขใจ)


สำหรับ “วิถีของนักสู้” ก็คือ “ความพยายามยอมรับในความตาย” แม้ความตายจะเป็นสิ่งที่ทุกผู้คนต้องพบพาน แต่สำหรับชนชั้นนักสู้แล้ว การเผชิญหน้ากับความตายอย่างมีคุณค่า คือการตายในหน้าที่ โดยปราศจากความอับอาย นักสู้จะบรรลุถึงวิถีนี้ได้จึงต้องแจ่มแจ้งใน “วิถีแห่งกลยุทธ์” เพื่อพิชิตชัยในทุกศึกที่จะนำมาซึ่งศักดิ์ศรี และเกียรติแห่งนักสู้และผู้เป็นนาย

วิถีแห่งกลยุทธ์ “มุซาชิ” มีความเห็นว่า การเปิดสอน “เพลงดาบ” โดยทั่วไป เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางการแสวงหาผลประโยชน์เท่านั้น หาใช่วิถีแห่งกลยุทธ์ที่จริงไม่ เพราะตั้งแต่อดีตกาล “เพลงดาบ” ถูกจัดอยู่ในหนึ่งวิชาช่างสิบหมู่ และศิลปะเจ็ดแขนง อันสะท้อนให้เห็นว่าเป็นเช่นเดียวกับงานศิลปะที่เสนอขายอยู่ทั่วไป  

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ 1

ซึ่งเปรียบได้กับการนำเสนอ “กาก” แต่ไม่ได้แจกแจงถึง “แก่น” แนวทางเช่นนี้อาจเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ที่มักจะให้ความสำคัญกับดอกไม้มากกว่าเมล็ดพันธุ์ หากแต่เป็นแนวความคิดที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เป็นหลัก จึงนำไปสู่การแสดงโอ้อวดโดยปราศจากกลยุทธ์ที่เที่ยงแท้ และย่อมเป็นต้นเหตุแห่งความพินาศในที่สุด

“มุซาชิ” กล่าวว่า แม้แต่คนในชนชั้นทั้งสี่ก็ยังต้องมี “วิถี” ของตนเอง (สังคมญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้น แบ่งชนชั้นทางสังคมออกเป็น 4 กลุ่มคือ นักสู้ ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า)

ชาวนา ย่อมต้องรู้จักใช้จอบเสียมและเครื่องมือในการเพราะปลูก อีกทั้งเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่มีผลต่อพืชสวนไร่นา

พ่อค้า ย่อมต้องรู้จักใช้ส่วนประกอบในการผลิตสินค้า เพื่อจำหน่ายสร้างกำไรหาเลี้ยงชีพ

สำหรับ นักสู้ ความเชี่ยวชาญในอาวุธคู่มือคือวิถีแห่งตน และหากปราศจากซึ่งกลยุทธ์แล้ว ย่อมแสดงถึงความรู้อันอ่อนด้อย

ช่างฝีมือ ก็ต้องรู้จักใช้เครื่องไม้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมีการวางแบบที่ถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน และสร้างงานตามแบบที่กำหนดไว้

โดยทั่วไปแล้ว วิถีของผู้คนส่วนใหญ่จะมีอยู่สี่วิถีคือ นักรบ ชาวนา ช่างศิลป์ และพ่อค้า

   1. วิถีแห่งชาวนา ผู้เป็นชาวนาย่อมต้องเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการเกษตรให้พร้อม คอยระวังการเปลี่ยนแปลงของฤดูการตลอดเวลา
   2. วิถีแห่งพ่อค้า ผู้เป็นพ่อค้าคือผู้สรรหาสินค้าหลายหลาย และมาหากำไรจากข้อดีและข้อเสียจากสินค้านั้นๆ
   3. วิถีแห่งนักรบ ผู้เป็นนักรบย่อมต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ให้เหมาะสมต่อการฝึกฝนของกองทัพ และต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของการใช้งานและข้อดีของอาวุธนั้นๆ หากขาดการจัดเตรียมและศึกษาข้อได้เปรียบของอาวุธให้ถ่องแท้ ย่อมสามารถพาตระกูลที่สังกัดพ่ายในสงครามอย่างแน่นอน
   4. วิถีแห่งช่างศิลป์ (ในที่นี้ท่านยกช่างไม้เป็นตัวอย่าง) ช่างไม้ที่ดีนั้นต้องจัดเตรียมอุปกรณ์งานช่างให้พร้อม เรียนรู้ที่จะให้อุปกรณ์ต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จัดเตรียมไม้ฉากให้พร้อมและสร้างสิ่งต่างๆตามแบบแปลนที่ได้รับ โดยมิให้ล้มเหลวแต่อย่างไร

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ Home

“มุซาชิ” ยังขยายความของกลยุทธ์โดยเปรียบเทียบกับ “การสร้างบ้านของช่างไม้” งานของช่างไม้คือการสร้างบ้าน บ้านก็มีหลากหลายลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งบ้านของผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ บ้านของนักสู้ หรือข้านของชนชั้นต่าง ๆ ช่างจึงจะต้องเข้าใจถึงบ้านที่ตนเองจะสร้างว่าเป็นแบบใด สำหรับชนชั้นใด จึงจะสามารถสร้างบ้านขึ้นจากแบบที่ร่างไว้

นายช่างใหญ่ต้องเข้าใจถึงบ้านในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงอาคารและวัดวาอาราม ตลอดจนพระราชวัง เข้าใจถึงหลักโครงสร้างสถาปัตยกรรม และรูปแบบของอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ละชนชั้น เพื่อที่จะสามารถควบคุมใช้งานช่างไม้ให้สร้างบ้านได้ตามแบบแผนที่วางไว้ เช่นเดียวกับนายทัพที่รู้จักใช้กำลังพล งานบ้านเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกและแยกแยะไม้ ไม้ตรงเรียบสวยงามเข็งแรงเหมาะกับงานเสาด้านอก ไม้ตรงเรียบแต่มีตำหนิเล็กน้อยสามารถใช้เป็นเสาภายในและขื่อคาน สำหรับไม้เนื้ออ่อนที่ไม่แข็งแรงนักแต่เรียบงาม สามารถใช้ทำเป็นผนังและกรอบประตู ไม้ที่แข็งแรงแต่ไม่สวยงามก็สามารถใช้ผูกเป็นนั่งร้านเพื่อการก่อสร้าง แม้แต่ไม้ที่ดูไม่สวยงามและเปราะบางก็สามารถใช้เป็นเชื้อฟืน

นายช่างใหญ่จะต้องรู้ถึงขีดความสามารถของช่างลูกมือที่มีอยู่ เพื่อที่จะมอบหมายงานที่เหมาะสมและตรงกับงานที่ถนัดช่างบางคนอาจถนัดในการทำห้องโถง บ้างอาจถนัดการทำประตู บานเลื่อน บ้างอาจถนัดทำผนังเพดาน ช่างฝีมือรองลงมาก็จะรับมอบหมายงานถากเหลา และตบแต่งไม้ถือเป็นการฝึกฝนฝีมือให้มีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ในขณะสร้างงานนานช่างใหญ่ก็จะต้องสามารถควบคุมงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามขั้นตอนลดความสับสนอลหม่าน เข้าใจถึงข้อจำกัดของช่างลูกมือแต่ละคน รู้จักการกระตุ้นสร้างขวัญและกำลังใจเมื่อถึงยามที่จำเป็น

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ 1%2520%252845%2529

วิถีแห่งกลยุทธ์สำหรับ นายทัพ ก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน นั่นคือความรู้ในการศึกในแต่ละรูปแบบ ตลอดจนเข้าใจถึงขีดความสามารถของกองทัพตัวเอง วิถีแห่งกลยุทธ์ของพลทหารก็เป็นเช่นเดียวกับช่างไม้ ที่ต้องพกพากล่องเครื่องมือติดตัวไปทุกที่ ทำงานตามคำสั่งของนายช่างใหญ่ สร้างงานได้อย่างเที่ยงตรงสวยงาม

ความสำเร็จของช่างไม้วัดจากผลงานที่ปราณีตบรรจง รอยต่อเรียบสม่ำเสมอไม่บิดเบี้ยว ขัดเงาอย่างเรียบง่ายสวยงามไม่ใช่เพียงเพื่อปกปิดความบกพร่อง เมื่อสั่งสมประสบการณ์จนเกิดความเชี่ยวชาญในทุกแขนงแห่งงานไม้ ก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นเป็นนายช่างใหญ่

ช่างไม้จะต้องหมั่นรักษาเครื่องไม้เครื่องมือให้คมกริบอยู่ตลอดเวลา แม้ในยามว่างก็ต้องหมั่นสร้างงานชิ้นเล็ก ๆ อันเป็นหนทางการฝึกฝนฝีมือ และสร้างความคุ้นเคยเชี่ยวชาญกับเครื่องมือแต่ละอย่าง

ดังเช่นการปฏิบัติตนของ นักสู้ หรือ นักวางกลยุทธ์ วิถีแห่งกลยุทธ์ จึงครอบคลุมไปถึงการมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี มีนาวทางการปกครองที่ดี ใช้คนอย่างฉลาด รู้จักอุปถัมภ์ค้ำจุน และมีการรักษากฎระเบียบวินัยที่เคร่งครัด

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ 02

ว่าด้วย “อิจิ ริว นิโตะ”
“อิจิ ริว นิโตะ” คือ แนวทางดาบ ของ “มุซาชิ” นับตั้งแต่อดีตกาลนักสู้ล้วนคาดดาบ 2 เล่ม หนึ่งเป็นดาบยาว อีกหนึ่งเป็นดาบสั้น

โดยทั่วไปวิธีการใช้ดาบของสำนักอื่น คือการกุมดาบด้วยสองมือ เช่นเดียวกับการใช้หอกหรือขวาน นั่นหมายความว่า เป็นการใช้ดาบเพียงเล่มเดียว ในขณะที่ดาบอีกเล่มหนึ่งยังประดับไว้ในฝัก ไม่อาจเปล่งพลานุภาพของดาบถึงขีดสุด การกุมดาบด้วยสองมือทำให้การกวัดแกว่งดาบเป็นไปอย่างเชื่องช้า และติดขัดและไม่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ขณะอยู่บนหลังม้า การต่อสู้บนพื้นที่ขรุขระ หรือการวิ่งท่ามกลางฝูงชน

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ Tua


แนวทางของ “มุซาชิ” จึง ฝึกฝนให้ใช้ดาบด้วยมือเดียว ผู้ฝึกฝนจึงสามารถ ใช้ดาบทั้งสองเล่มได้พร้อมกันทั้งซ้ายและขวา ในขณะใช้ดาบเพียงเล่มเดียว สามารถใช้อีกมือที่ว่าง เพื่อช่วยในการทรงตัว กุมบังเหียน ตลอดจนการจับถืออาวุธอื่น ประโยชน์ของการใช้ดาบทั้งสองเล่มยังมีอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ต้องต่อสู้กับคนหมู่มาก

สำหรับผู้ไม่คุ้นเคยการกุมดาบด้วยมือเดียวจะต้องใช้กำลังมาก และยากต่อการกวัดแกว่ง แต่เมื่อผ่านการฝึกฝน ความคล่องแคล่วก็จะทวีขึ้นตามพละกำลังที่เพิ่มพูน

ที่สำคัญ แนวทางของ “มุซาชิ” นั้น ปัจจัยในการเอาชัยคือ จังหวะในการวาดดาบ ไม่ใช่ความเร็วของเพลงดาบ

ถึงแม้ว่า “ดาบ” จะได้รับการยกย่องว่าเป็นที่สุดแห่งศาสตราวุธ และเชื่อวันว่าผู้บรรลุใน วิถีแห่งดาบ เป็นผู้ที่บรรลุวิถีแห่งกลยุทธ์ และจะมีชัยเหนือคู่ต่อสู้ทั้งปวง แต่จิตวิญาณของวิถีแห่งกลยุทธ์ที่แท้จริงคือการเอาชัย

ดังนั้นถ้าผู้ฝึกฝนสามารถเรียนรู้วิถีแห่งศาสตร์อื่น และแผ้วทางจนได้รับชัยชนะก็กล่าวได้ว่า ค้นพบวิถีแห่งกลยุทธ์ของตนเอง

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ 2

อาวุธกับกลยุทธ์
ในบทแห่งดินนี้ “มุซาชิ” ยังกล่าวถึง การเลือกใช้อาวุธว่า ต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และช่วงเวลา

ในขณะที่ ดาบยาว ใช้ได้กับทุกสถานการณ์

ดาบสั้น เหมาะที่จะใช้ในพื้นที่จำกัดหรือในระยะประชิดคู่ต่อสู้

ส่วน ขวานศึก และ หอกนั้น ใช้ในการรบพุ่ง โดยที่ หอก จะเข้มแข็งและเหมาะกับการรุก ส่วน ขวานศึก นั้นเหมาะกับการตั้งรับ

ส่วน ธนู เหมาะสำหรับการยิงสนับสนุนเพื่อการโจมตี หรือสกัดกั้นในขณะล่าถอย ซึ่งไม่มีประโยชน์ใดเลย ในการต่อสู้แบบตะลุมบอนหรือการยิงระยะไกล

เช่นเดียวกับ ปืนไฟ ที่ใช้งานได้ดีเฉพาะในป้อมค่าย แต่ไม่สามารถหาญหักกับดาบในระยะประชิดใกล้

การเลือกใช้อาวุธจึงต้องขึ้นกับสถานการณ์ ถึงแม้โดยทั่วไปนักสู้จะมีอาวุธคู่มือ แต่การเลือกใช้อาวุธไปตามความถนัดและความชอบพอของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม นับเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันจะนำไปสู่ความหายนะได้

“มุซาชิ” มีความเห็นว่า อาวุธที่ดีมีไว้ใช้งาน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องประดับ ม้าศึกก็จัดเป็นยุทโธปกรณ์อย่างหนึ่ง จะต้องมีความเข็มแข็งอดทน ไม่มีข้อบกพร่อง เช่นเดียวกับดาบต้องคมกล้า หอกทวนต้องตั้งตรงแข็งแรง ธนูและปืนไฟต้องมีความแม่นยำและคงทนต่อการใช้งาน


“จังหวะ”
“มุซาชิ” ให้ความสำคัญกับ “จังหวะ” เป็นอย่างยิ่ง โดยกล่าวว่าความรู้สำคัญที่กล่าวถึงในคัมภีร์ทั้งห้าบทคือเรื่องราวของ “จังหวะ” ที่พึงเรียนรู้นั่นเอง เพราะนักสู้ที่จะสามารถช่วงชิงได้ ต้องอาศัยการหยั่งรู้ถึงจังหวะของคู่ต่อสู้ และช่วงชิงลงมือในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดถึง

ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือศาสตร์และศิลป์ใด ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัย “จังหวะ” ในการสร้างความสมบูรณ์งดงาม เช่นเดียวกับที่นักสู้จะสามารถมีชัยได้ ก็ต้องใช้อาวุธอย่างถูกต้องสอดคล้องกับ “จังหวะ” ในการต่อสู้ช่วงชิง สรรพสิ่งล้วนมีจังหวะ

แม้แต่ “ความว่าง” ก็ยังมีจังหวะ การดำเนินชีวิตของคนทุกชนชั้นก็ยังมีจังหวะของชีวิต นักสู้มีจังหวะแห่งการเติบโตและล่มสลาย พ่อค้ามีจังหวะของการร่ำรวยและล้มละลาย สรรพสิ่งจึงมีทั้งจังหวะและการรุ่งเรืองและเสื่อมโทรม กลยุทธ์ก็เป็นเช่นสิ่งอื่นที่มีจังหวะอันหลากหลาย นักสู้พึงแยกแยะจังหวะที่เหมาะสมออกจากจังหวะที่ไม่เหมาะสม

โดยเรียนรู้จากขนาดเล็กใหญ่ ความเร็วช้า และลำดับก่อนหลัง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อจังหวะของกลยุทธ์ หากไม่เรียนรู้ถึงจังหวะย่อมไม่อาจบรรลุถึงกลยุทธ์ และที่สำคัญมีเพียงการฝึกฝนเท่านั้น ที่เป็นวิถีแห่งการเรียนรู้ถึง “จังหวะ” ของกลยุทธ์

   'สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาวิชาของข้า นี่คือกฎที่ต้องนำเข้าไปในการฝึกฝน''
   1. คิดอย่างซื่อสัตย์''
   2. หลอมตัวเองกับวิถี''
   3. สัมผัสไปกับศิลปะต่างๆ''
   4. รู้ทุกวิถีของทุกอาชีพ''
   5. รู้ข้อดีเสียของทุกสิ่ง''
   6. พัฒนาวิสัยทัศน์''
   7. เข้าใจสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา''
   8. สังเกตทุกสิ่งแม้เล็กน้อย''
   9. อย่าเอาสิ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพมาเข้าตัวเอง'

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ Ring02

บทแห่งน้ำ
บทแห่งน้ำ กล่าวถึง จิตวิญาณ ที่เปรียบได้ทั่ง “น้ำ” อันสามารถแปรเปลี่ยนรูปร่างได้ตลอดเวลา บางครั้งเล็กน้อย เพียงหยดเดียว บางครายิ่งใหญ่ดั่งห้วงมหรรณพ แนวทางของสำนักจะถูกอธิบายอย่างแจ่มแจ้งดุจความใสกระจ่างของน้ำในบทนี้

“มุซาชิ” กล่าวว่า ถึงแม้คัมภีร์เล่มนี้จะอรรถาธิบายถึงการยุทธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งหากแต่สามารถพิจารณาเปรียบเทียบในแง่ของการทำสงครามระดับกองทัพได้เช่นเดียวกัน

ผู้ฝึกฝนจะต้องทำความเข้าใจถึงพื้นฐานได้อย่างถ่องแท้ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดเพี้ยนในระดับบั้นปลาย สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ฝึกฝนบรรลุถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ได้ ต้องอาศัยความมานะฝึกฝนอย่างหนัก โดยไม่ย่อท้อ เพราะการบรรลุที่แท้นั้น จะเกิดขึ้นจากการค้นพบภายใน ไม่ใช่เกิดจากการอ่านและลอกเลียนเพียงอย่างเดียว

สภาวะของ “สมาธิ” และ “จิตใจ”

“มุซาชิ” ให้ความสำคัญกับเรื่องของ สมาธิ และ จิตใจ เป็นอันดับแรก ผู้ที่จะบรรลุวิถีแห่งกลยุทธ์ได้ ต้องรักษาจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ศูนย์กลางเสมอ ไม่ตึงเครียดหรือปลดปล่อยจนเกินไป พึงรักษาความสงบไว้อย่างมั่นคง หากแต่ต้องยืดหยุ่นอิสระและเปิดกว้าง

แม้ร่างกายจะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนไหว ก็ต้องรักษาสภาพจิตใจนี้ไว้ในทุกช่วงยาม สมาธิ และ จิตใจ ต้องสงบเยือกเย็นอยู่เสมอ จิตใจ จะต้องไม่ถูกร่างกายชักจูงไป ต้องรวบรวม สมาธิ มั่นต่อจิตใจและเพิกเฉยต่อร่างกาย การฝึกปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะสร้างความแข้งแกร่งให้กับจิตใจ ไม่เปิดเผยความรู้สึกนึกคิดของฝ่ายตรงข้าม

ในขณะเดียวกัน กลับรับรู้ถึงสภาวะและแนวทางความคิดของฝ่ายตรงข้าม สามารถประเมินรูปแบบของคู่ต่อสู้ได้อย่างถูกต้อง การจะบรรลุถึงเส้นทางดังกล่าวจะต้องมีจิตใจที่แจ่มในเปิดกว้าง พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมรอบด้านอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สำคัญจะต้องมีการปรับปรุงความรู้ใหม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อขยายจิตใจออกไปอย่างไม่จำกัด

จุดแห่งสมาธิ ก็คือ การระวังระไวในการต่อสู้ จะต้องมีการตรวจสอบแก่นแท้ของสภาพแวดล้อมที่มีอยู่จริงอย่างลึกซึ้ง และ เข้าใจถึงปรากฏการณ์เปลือกนอก ที่ฝ่ายตรงข้ามจงใจเปิดเผยให้เห็น เล็งเห็นถึงสภาพของระยะไกล และสามารถฉกฉวยความมีเปรียบจากระยะใกล้ หยั่งรู้ถึงแนวทางเพลงดาบที่แท้ของฝ่ายตรงข้าม โดยไม่หลงกลต่อรูปแบบการเคลื่อนไหวภายนอกของคู่ต่อสู้ เพื่อชัยชนะเหนือผู้อื่น การต่อสู้ทุกครั้งจึงจะต้องมีการคิดคำนวณและวางแผนไว้เป็นอย่างดี โดยไม่ถูกเบี่ยงเบนไปจากสภาพแวดล้อมที่ถูกจัดสร้างขึ้น

เมื่อ สมาธิ และ จิตใจ คือรากฐานของกระบวนท่าทั้งปวง “มุซาชิ” จึงกำหนดการตั้งท่าในการต่อสู้ให้อยู่ในสภาวะพร้อม ด้วยร่างกายที่ตั้งตรงไม่เอนเอียง สายตาแน่วแน่ไม่วอกแวก ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับแนวทางการจับดาบของ “มุซาชิ” นั้นเน้นที่ความยืดหยุ่นไม่แข็งเกร็งพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ เพื่อเปลี่ยนถ่ายการเน้นย้ำให้น้ำหนักของการกดดาบได้ตามสถานการณ์ เช่นเดียวกับจังหวะของการเคลื่อนเท้า ที่จะต้องมีความสมดุลทั้งซ้ายขวาอย่างปรกติ โดยไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวย่างก้าวด้วยการเน้นย้ำความถนัดของเท้าข้างใดข้างหนึ่ง

วิถีแห่งการถือดาบ
ในการจับดาบ จงปล่อยให้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ให้เป็นธรรมชาติ นิ้วกลางไม่แน่นหรือหลวมเกินไป และกำมือที่เหลือ อย่าให้มีช่องว่างที่ทำให้มือหลวม

แนวคิดในการจับดาบที่ควรใช้คือ จับดาบเพื่อ "ตัด" ศัตรูของตน เมื่อจับดาบต้องไม่เปลี่ยนวิธีจับไปมา และต้องไม่ให้มือของตนไปอยู่ในตำแหน่งที่คุมดาบไม่ได้ ในขณะที่เจ้ายันดาบ ปัดดาบ โจมตีหรือควบคุมดาบอีกฝ่าย นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ควรจะเลื่อนไปมาตามความต้องการเพียงเล็กน้อย ไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ตาม จงจับดาบด้วยความตั้งใจที่จะ "ตัด" คน

ซึ่งจะทำให้การจับดาบนั้นจะไม่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบดาบใหม่กับศพหรือนักโทษ หรือแม้กระทั่งในการสู้รบจริง แต่ไม่ว่าจะเป็นดาบหรือมือการไม่ยอมเคลื่อนไหวดาบหรือมือไปตามธรรมชาตินั้นไม่เป็นที่พึงประสงค์เท่าไหร่นัก มือหรือดาบที่ไม่มีการเคลื่อนที่นั้นเปรียบเสมือนมือที่ตายไปแล้ว มือที่สามารถเคลื่อนไปมาได้คือมือที่ยังมีชีวิตอยู่

การใช้เท้า
ในการใช้เท้า เล็บเท้าควรจะลอยเล็กน้อยและใช้ส้นเท้าเป็นตัวหลักในการก้าวเท้า ในการใช้เท้าในการต่อสู้ ให้เดินแบบตามธรรมชาติ ในกรณีของการก้าวกว้างหรือแคบ เร็วหรือช้า จะทำให้เท้าเหมือนลอยอยู่ บินหรือเท้าตาย ซึ่งทั้งสามอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในวิถีของการก้าวเท้านั้นถูกเรียกว่าเท้าหยินหยาง และเป็นสิ่งที่สำคัญในศิลปะการต่อสู้ หลักการของเท้าหยินหยาง คือ การไม่ก้าวเท้าเพียงข้างเดียว ด้วยวิถีหยินหยางนี้ การก้าวเท้านั้นไม่ว่าจะเป็นการก้าวซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย ไม่ว่าจะทำการจู่โจม ถอย หรือปัดป้องการโจมตี ต้องไม่เคลื่อนเท้าเพียงข้างเดียวอย่างเด็ดขาด

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ 1%2520%25281%2529

“ไร้กระบวนท่า”
“มุซาชิ” มีความเห็นว่า หากผ่านการฝึกฝนเรียนรู้จรคล่องแคล่วก็จะสามารถใช้ดาบได้อย่างคล่องแคล่ว อิสระอย่างเป็นธรรมชาติ จนเป็นเสมือนกับส่วนหนึ่งของร่างกาย สำหรับท่วงท่าการจรดดาบตามแนวทางของ “มุซาชิ” นั้น มีเพียง 5 ท่วงท่าที่เรียกกันว่าจรด 5 ทิศ อันประกอบด้วย

โจดาน (ท่าบน)
จูดาน (ท่ากลาง)
เกดาน (ท่าต่ำ)
มิกิโนะวากิ (ปิดขวา) และ
ฮิดาริ โนะวากิ (ปิดซ้าย)

ซึ่งการจรดท่าทั้ง 5 นี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ออกในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแนวทางการฟาดฟันดาบของฝ่ายตรงข้าม โดยกล่าวไว้ว่า ท่าบน ท่ากลาง และท่าต่ำนั้น เป็นการใช้ออกจากแง่มุมที่มั่นคงแข็งแรง ในขณะที่ปิดขวาและปิดซ้ายเป็นการใช้ออกจากแง่มุมที่เลื่อนไหล เพื่อขจัดสิ่งกีดขวางที่มีอยู่ในด้านใดด้านหนึ่ง

สำหรับท่าจรดดาบที่ “มุซาชิ” ให้ความสำคัญที่สุดคือ ท่าจรดกลาง ซึ่งเปรียบได้กับตำแหน่งของนายทัพที่จะทำให้อีกสี่ตำแหน่งที่เหลือติดตามการเคลื่อนไหวไปได้อย่างเป็นจังหวะจะโคน

อย่างไรก็ตาม “มุซาชิ” เห็นว่าการจรดดาบเป็นเพียงกระบวนการหนึ่งในการฟาดฟันเท่านั้น แม้แต่การตั้งรับ และปิดป้องก็เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่จะบรรลุถึงการฟาดฟันฝ่ายตรงข้าม ผู้ถือดาบจึงควรมุ่งมั่นในการฟาดฟันศัตรู มากกว่าพะวักพะวนถึงท่วงท่าทิศทางในการจรดดาบ เพราะหากกล่าวถึงที่สุดแล้วการเคลื่อนไหวดาบเพียงเล็กน้อย ก็จะเป็นการเปลี่ยนท่าจรดดาบจากกระบวนท่าหนึ่งไปยังอีกกระบวนท่าหนึ่ง นาวทางที่คิดค้นขึ้น จึงเป็นทั้ง “มีกระบวนท่า” และ “ไร้กระบวนท่า” เพราะที่สำคัญคือการค้นพบตำแหน่งแง่มุมที่เหมาะสมที่จะใช้ฟาดฟันฝ่ายตรงข้ามอันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการมีชัยเหนือคู่ต่อสู้

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ S2


ว่าด้วยการใช้ดาบ
“มุซาชิ” ให้ความสำคัญกับการเอาชัยในดาบเดียว ซึ่งเป็นการฟาดฟันดาบออกในท่วงท่าที่สงบอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นเพียงจังหวะเดียวก่อนที่คู่ต่อสู้จะตัดสินใจปิดป้องหรือถดถอยตั้งรับ ในขณะที่เป็นฝ่ายรุกไล่อาจใช้การฟันหลอกล่อ เพื่อให้คู่ต่อสู้เสียจังหวะก่อนที่จะฟาดฟันกระบวนที่แท้จริงออก ในขณะที่ฟาดฟันพร้อมกัน จะต้องฟาดฟันออกอย่างรวดเร็ว รุนแรง ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามหลบหลีกปิดป้อง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็ว หากแต่ให้ทดแทนด้วยความหนักหน่วงลึกล้ำ

การฟาดดาบ ในแต่ละครั้งคราก็มีจุดประสงค์เป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป การฟาดฟัน อย่างว่องไวโดยขยับดาบแต่เล็กน้อยเป็นการจู่โจมรบกวนสมาธิของฝ่ายตรงข้าม การฟาดฟัน ไปยังดาบยาวของคู่ต่อสู้โดยการกดต่ำหรือกระแทกให้หลุดจากมือ เป็นการจู่โจมทำลายอาวุธของฝ่ายตรงข้าม และที่หวังผลรุนแรงคือการฟาดฟันแบบกวาดรวมไปยังส่วนหัว แขน และขา ของคู่ต่อสู้ในกระบวนท่าเดียว

สำหรับท่าร่างในการฟาดฟันดาบ “มุซาชิ” มุ่งการฝึกปรือสู่ขั้นร่างกายกับดาบรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวก่อนเพียงเล็กน้อยก่อนที่ดาบจะฟาดฟันออกไป โดยมีทั้งรูปแบบของการฟันใส่แขนขา เพื่อเข้าประชิดคู่ต่อสู้ และรูปแบบของการฟันที่ออกไปตามจิตสำนึก

เพื่อพิชิตชัยในฉับพลัน เมื่อคู่ต่อสู้เงื้อดาบจะฟาดฟันแทนที่จะยื่นดาบหรือเหยียดมือออกไปก็จะใช้กลยุทธ์การหระชิดเข้าพิงกับคู่ต่อสู้แทน เป็นการทำลายจังหวะและป้องกันการปัดป้องของคู่ต่อสู้และเปลี่ยนสภาพจากการหดห่อร่างกาย เป็นการยื่นขยายมือเท้าออกไปครอบงำฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด หากคู่ต่อสู้สามารถสกัดการฟาดฟันได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นการแนบดาบเข้ากับฝ่ายตรงข้าม โดยอาศัยการเกาะเกี่ยวที่เน้นการใช้กำลังอย่างแกร่งกร้าว และการพัวพันที่ใช้กำลังอย่างอ่อนหยุ่น เพื่อช่วงชิงช่องว่างและแง่มุมที่เหมาะสมในการโถมฟาดฟันใส่ทรวงอกร่างกายของฝ่ายตรงข้าม ดาบยังสามารถทิ่มแทงโดยเฉพาะในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีช่องว่างให้ฟาดฟันหรือเมื่อความคมของดาบเริ่มลดทอนลง

ในยามรุกนั้นเป้าหมายของการทิ่มแทงหัวใจ ในขณะตั้งรับ การทิ่มแทงก็สมารถใช้ออกเพื่อยับยั้งการรุกของคู่ต่อสู้ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ใบหน้าและตวงตาของฝ่ายตรงข้าม การบีบบังคับให้คู่ต่อสู้หนีออกจากเส้นทาง นับเป็นสัญาณแห่งชัยชนะของเรา การทิ่มแทงยังสามารถใช้ออกในกรณีที่เราเพลี่ยงพล้ำเสียจังหวะจากการรุกจนฝ่ายตรงข้ามฟาดฟันเข้ามา หลักการคือจะต้องตบดาบของฝ่ายตรงข้ามออก และพลิกแพลงเปลี่ยนจากการตบออกเป็นทิ่มแทง หากฝึกฝนจนจังหวะของการทิ่มแทงรวดเร็วกว่าการตบออก ก็จะมีชัยชนะเหนือคู่ต่อสู้ ไม่เพียงแต่รูปแบบของการฟาดฟันทิ่มแทง และการเคลื่อนไหวท่าร่าง การใช้ดาบยังครอบคลุมถึงการใช้เสียงตวาด เพราะนอกจากจะเป็นการข่มขวัญคู่ต่อสู้แล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างจังหวะการใช้ดาบของตนเองอีกด้วย

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน2] บทแห่งดิน และบทแห่งน้ำ Anigif


“มุซาชิ” ยังได้กล่าวถึงกรณีของการต่อสู้กับพวกมากกว่า จะต้องสังเกตทุกความเคลื่อนไหวของศัตรู พึงใช้ดาบทั้งสองเล่มเพื่อกวาดต้อนให้ศัตรูที่รายล้อมอยู่รอบด้าน ให้รวมตัวกันอยู่ในด้านเดียว จะได้พ้นจากสภาวะที่ต้องรับมือจากการจู่โจมรอบด้าน จะต้องวางแผนการรับมืออย่างเป็นขั้นตอน

โดยการลำดับก่อนหลังในการเข้าถึงของคู่ต่อสู้แต่ละคน การผลักดันให้ศัตรูถอยกลับไปในลักษณะที่ยังเป็นรูปขบวนอยู่นั้น ไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ เลย การฟาดฟันจึงต้องมุ่งมั่นที่จะทำลายขบวนของศัตรูให้กระเจิดกระเจิงสับสนรวนเร

การจะบรรลุได้ถึงชัยชนะจะต้องผ่านการฝึกฝนจนร่างกายกับดาบหลอมรวมเป็นหนึ่ง การเคลื่อนร่างเป็นไปตามธรรมชาติปรุโปร่งถึงจังหวะแห่งจิตวิญาณ เมื่อถึงขอบเขตนี้แล้ว วิถีแห่งการพิชิตศัตรูทั้งกองทัพ กับการเอาชัยเหนือศัตรูหนึ่งเดียว ก็ไม่มีความแตกต่างกัน

รากฐานกระบวนท่าทั้งห้า
1. "ท่ากลาง" การตั้งท่า: ดาบชี้ไปที่ใบหน้าศัตรู ศัตรูฟันดาบแรก: ปัดดาบไปทางขวาตน ศัตรูฟันดาบสอง: ปัดดาบไปขึ้นบนและดึงดาบออกมา ศัตรูกำลังฟันดาบสาม: ฟันแขนอีกฝ่ายจากข้างล่าง

'ท่าทั้งห้านั้นไม่สามารถเข้าใจได้โดยการอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างเดียว ต้องฝึกฝนด้วยการถือดาบไว้ในมือด้วย''เมื่อได้ดังนั้นเจ้าย่อมเข้าใจถึงวิถีแห่งดาบของข้า และเข้าใจดาบของอีกฝ่ายไม่ว่าเขาจะจู่โจมมาอย่างไร''นี่คือสาเหตุที่ข้าสอนเข้าด้วยกระบวนท่าดาบสองมือ และไม่มีท่าอื่นใดนอกจากห้ากระบวนท่านี้ ซึ่งเจ้าต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง'

2. "ท่าสูง" การตั้งท่า: เงื้อดาบและโจมตีอีกฝ่ายเมื่ออีกฝ่ายโจมตี เมื่อโจมตีพลาด: ให้ปล่อยดาบไว้ท่าเดิม เมื่อศัตรูเริ่มโจมตีกลับ: ฟันดาบขึ้นจากท่าเดิม

'มีจังหวะมากมายที่เกี่ยวข้องกับในกระบวนท่านี้ แต่หากฝึกฝนภายในขอบเขตอันมากมายเหล่านั้นจะทำให้เจ้าสามารถเข้าถึงรายละเอียดของท่าทั้งห้า และสามารถเอาชนะได้ทุกสถานการณ์'

3. "ท่าต่ำ" การตั้งท่า: ดาบชี้ลงต่ำ เมื่อศัตรูบุกเข้ามา: โจมตีมืออีกฝ่ายจากด้านล่าง เมื่อโจมตี: มีโอกาสที่ศัตรูจะปัดหรือฟันดาบเรา ปล่อยจังหวะนี้ผ่านไป เมื่อศัตรูปัดดาบเราสำเร็จ: ฟันมือด้านบนอีกฝ่ายทิ้ง

4. "ท่าซ้าย" การตั้งท่า: ดาบที่จะใช้โจมตีให้พร้อมจากด้านซ้าย เริ่มโจมตี: ฟันดาบแรกไปที่ข้อมือหรือมือที่ถือดาบของอีกฝ่าย เมื่ออีกฝ่ายโจมตีดาบเรา: ปัดดาบอีกฝ่ายทิ้ง โจมตีปิด: ใช้ดาบอีกเล่มอ้อมไปฟันแขนอีกฝ่ายตามแนวเหวี่ยงของไหล่'การโจมตีนี้จุดสำคัญอยู่ที่การเอาชนะโดยการปัดวิถีโจมตีของดาบศัตรู'

5. "ท่าขวา" การตั้งท่า: ดาบพร้อมทางด้านขวาตน เมื่อฝ่ายตรงข้ามโจมตี: ยกดาบขึ้นและตัดศัตรูจากด้านบนลงล่าง

'หากเจ้าเคยชินกับพื้นฐานของกระบวนท่านี้แล้ว เจ้าจะสามารถควบคุมดาบขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดายนี่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ถึงวิถีแห่งดาบเช่นกัน'
ขึ้นไปข้างบน
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ