Mysteryworld
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Go down
avatar
Admin
Admin
จำนวนข้อความ : 5
Join date : 21/06/2018
https://mysteryworld.thai-forum.net

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน1] Empty มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน1]

Thu Jun 21, 2018 11:53 pm
Musashi's 'The Book of Five Rings'
มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน1] Five_r10

คัมภีร์ 5 ห่วง
วิถีแห่งดาบ มิยาโมโต้ มุซาชิ
ดิน น้ำ ลม ไฟ ความว่างเปล่าของจิต

   ดิน (จิ) ว่าด้วยปรัชญาของเฮอิโฮ

   น้ำ (มิซุ) ว่าด้วยจิตวิญญาณ

   ไฟ (ฮิ) ว่าด้วยการต่อสู้

   ลม (คาเซ) ว่าด้วยการต่อสู้ของสำนักอื่น

   ความว่าง (คุ) ว่าด้วยการทำให้หลักการแปรเป็นหลักปฏิบัติ

        คัมภีร์แห่งการดำเนินชีวิตตามวิถีแห่งซามูไร แนวทางปรัชญาในวิถีของการต่อสู้ เป็นแนวทางการเดินไปสู่จุดหมายได้อย่างเหมาะสม โดยนำคุณลักษณะของธาตุพื้นฐานทั้งห้ามาแบ่งเป็นภาคเป็นลักษณะของ รูปแบบการต่อสู้ รวมทั้งการอธิบายถึงความเป็นมาและความเป็นไป เพื่อการนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ และจะเดินไปบนเส้นทางชีวิตอย่างมีสติ ระมัดระวัง และรู้แจ้ง ด้วยหลักใหญ่ที่ว่าชีวิตคือการควบคุม ทั้งกายและจิตใจ ให้ เกิดภาวะสมดุล ชีวิตจะไม่โอนเอียง

บททั้งห้าของ Book of Five Rings


มูซาชิได้เขียน "คัมภีร์ห้าห่วง" โดยแบ่งเป็นห้าภาคด้วยกัน แต่ละภาคก็มีหลักวิชาแตกต่างกันไป โดยมูซาชิแบ่งเป็นภาคดิน ภาคน้ำ ภาคไฟ ภาคลม และภาคสุญตา โครงสร้างการเขียนของมูซาชิแบบนี้สะท้อนให้เห็นว่า มูซาชิเป็นพุทธในเชิงหลักคิด นี่คงเป็น ผลของการปฏิบัติธรรมแบบเซน ในช่วงบั้นปลายแห่งชีวิตของเขานั่นเอง


ดิน ทำหน้าที่เป็นบทนำ เปรียบเสมือนพื้นฐาน  ท่านจะพูดถึงส่วนประกอบของวิชา และเปรียบเทียบกล่าวศิลปะการเป็นผู้นำและการสร้างบ้านเป็นท่านจะพูดถึงส่วนประกอบของวิชา


น้ำ เปรียบเสมือนท่วงท่า เป็นวิธีออกดาบของท่าน อธิบายถึงเทคนิคพื้นฐานและหลักการพื้นฐาน

'ข้าได้ให้นามของศิลปะการต่อสู้ของข้าว่า "สองสวรรค์ หนึ่งรูปวิถี" (Two Heaven, One Style)'


ไฟ เปรียบเสมือนศัตรู เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว การเรียนรู้ถึงความรู้สึกนึกคิด


ลม เปรียบเสมือนวิชารูปแบบอื่นๆ นอกจากที่ท่านได้ระบุไว้


ว่างเปล่า เป็นจุดสำคัญของวิถีทั้งห้า เพราะเป็นการรวบรวมทุกอย่างเป็นหนึ่งเดียว บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด


The Book of Five Rings (Go Rin No Sho) Source - Eisei-Bunko Museum

   'หากเจ้าต้องการเรียนรู้วิถีแห่งศิลปะการต่อสู้ จงใส่ใจและพิจารณาทุกสิ่งที่เขียนไว้ในนี้ให้ดีบททั้งห้าของ Book of Five Rings'

   บทที่ 1 บทแห่งดิน  

   ใน ภาคดิน มูซาชิได้กล่าวถึง ภาพกว้างๆ เกี่ยวกับวิถีของกลยุทธ์และวิทยายุทธ์ตามทัศนะของเขา มูซาชิกล่าวว่า ในการจะรู้วิถีที่แท้จริงนั้น จะต้องรู้ทั้งที่ใหญ่ที่เล็กที่ตื้่นที่ลึก รู้หนารู้บาง ดุจการย่ำพื้นดินบนเส้นทางที่ตรงดิ่ง ด้วยเหตุนี้ เขาจึงตั้งชื่อภาคแรกในคัมภีร์เล่มนี้ของเขาว่า ภาคดิน

   'บทนี้ข้าจะพูดถึงภาพรวมของศิลปะการต่อสู้ รูปแบบของข้าเอง มันเป็นสิ่งที่ยากยิ่งที่จะเข้าถึงวิถีแห่งนักดาบได้ด้วยตัวคนเดียว แต่หากเจ้ารู้ภาพรวม เจ้าก็จะรู้รายละเอียด และจากน้ำตื้น เจ้าจะสามารถเข้าย่างก้าวเข้าสู่น้ำลึกได้'

   บทที่ 2 บทแห่งน้ำ

   ภาคน้ำ ซึ่งเป็นภาคที่สองของคัมภีร์ห้าห่วง มูซาชิบอกว่า เหตุที่เขาตั้งชื่อว่า น้ำ ก็เพราะวิทยายุทธ์ของตัวเขาเรียนรู้จาก "น้ำ" มาเป็นเยี่ยงอย่าง โดยเฉพาะในการฝึกใจของเขา ซึ่งมูซาชิบอกว่า เขาได้พยายามฝึกใจของเขาให้เป็นดุจใจของน้ำ เนื่องจากน้ำสามารถปรับตัวเข้ากับภาชนะได้ทุกชนิดทุกประเภท นอกจากนี้ น้ำยังสามารถดำรงอยู่แค่หยดเดียวเป็นหยดน้ำค้างก็ได้ หรือจะดำรงอยู่เป็นมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลก็ได้ เขาจึงขอใช้คุณสมบัติของน้ำนี้ เป็นสัญลักษณ์แทนหลักกลยุทธ์และวิทยายุทธ์ของสำนักของเขา

   มูซาชิกล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่ฝึกฝนหลักวิทยายุทธ์จนกระทั่งสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ที่เป็นปัจเจกได้ดั่งใจปรารถนาแล้ว ก็ย่อมที่จะสามารถชนะคนทั้งโลกได้ด้วยหลักการเดียวกันนั่นเอง เพราะใจที่มีชัยเหนือคนคนหนึ่งนั้น ย่อมเป็นใจเดียวกับใจที่มีชัยเหนือไพรีข้าศึกนับพันนับหมื่น ดั่งคำสอนที่ว่า "จงใช้หนึ่งไปรู้หมื่น" หรือ หากรู้ซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียวก็ย่อมสามารถรอบรู้ในเรื่องทั้งปวงได้ นี่แหละคือ หลักวิชาฝีมือที่เป็นหลักกลยุทธ์เชิงบูรณาการ และพหุปัญญาของมูซาชิ

   'บทนี้ ข้าจะเปรียบน้ำเสมือนจิต น้ำจะเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะที่ใส่ ไม่ว่าจะมีมุมหรือโค้งเช่นไร น้ำนั้นไม่ว่าจะเป็นหยดเพียงหนึ่ง หรือเป็นมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ น้ำก็ยังเป็นสีฟ้า และด้วยความบริสุทธิ์ของมัน ข้าได้เขียนรูปแบบของข้าไว้ในบทนี้ หากเจ้าสามารถเข้าใจวิถีแห่งนักดาบได้อย่างถ่องแท้ เมื่อเจ้าสามารถล้มคู่ต่อสู้หนึ่งคนได้อย่างอิสระ เจ้าก็สามารถเอาชนะทุกคนบนโลกใบนี้ได้ศิลปะสั่งการกองทัพคล้ายๆกับการทำสิ่งเล็กๆให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เหมือนกับการเริ่มสร้างพระพุทธรูปจากเท้าขึ้นไปจนเป็นรูปเป็นร่าง "หนึ่งคน รู้หมื่นสิ่ง" คือทฤษฏีแห่งศิลปะการต่อสู้'

   บทที่ 3 บทแห่งไฟ


   ภาคไฟ มูซาชิได้กล่าวถึงการสู้รบในทัศนะของเขา มูซาชิกล่าวว่า ไฟนั้นเจิดจ้า จะใหญ่ก็ได้จะเล็กก็ได้ จึงเหมาะที่จะเป็นสัญลักษณ์ของการสู้รบ ซึ่งมีทั้งการต่อสู้แบบตัวต่อตัว และการต่อสู้ระหว่างกองทัพกับกองทัพ แต่วิถีของการรบนั้นยังคงเป็นหลักวิชาเดียวกันอยู่ดี ความจริงในเรื่องนี้ หากครุ่นคิด เรื่องนี้ให้ลึกซึ้งรอบคอบก็จะเป็นที่ประจักษ์ได้เอง

   มูซาชิกล่าวว่า ไฟดวงใหญ่นั้นมองเห็นง่าย แต่ไฟดวงเล็กมองเห็นยาก เปรียบเหมือนกับคนหมู่มากที่จะเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กันนั้นเป็นเรื่องยาก ในขณะที่คนคนเดียวใช้ใจดวงเดียวของตนก็จะเคลื่อนไหวง่าย เปลี่ยนแปลงง่ายในทันที เพราะฉะนั้นการรู้ในเรื่องเล็กๆ อย่างใจของคนคนเดียว จึงยากกว่าการรู้ในเรื่องใหญ่ๆ ของคนกลุ่มใหญ่ที่กุมสภาพได้ง่ายกว่า มูซาชิจึงเน้นว่า คนเราควรหมั่นฝึกฝนใจให้เป็นปกติไม่เปลี่ยนแปลงไม่หวั่นไหว แม้ยามเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝัน หรือตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เพราะนี่เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการสู้รบ

   'บทนี้ข้าจะพูดถึงสนามรบ สาเหตุที่ข้าได้เขียนลงไว้ ณ ที่นี้เนื่องจากไฟนั้นมีตั้งแต่กองเล็กๆ ไปยังกองไฟขนาดใหญ่ และยังเป็นพลังงานที่สังเกตได้ ในวิถีแห่งสนามรบ การประจันหน้าหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งต่อหนึ่ง หนึ่งต่อหมื่น หรือ หมื่นต่อหมื่นนั้นมีความเหมือนกันทั้งสิ้น เป็นการง่ายที่จะสังเกตสิ่งขนาดใหญ่ และยากที่จะเห็นสิ่งขนาดเล็ก เหตุผลคือจิตของกลุ่มคนขนาดใหญ่นั้นเปลี่ยนแปลงได้ช้าต่างจากจิตของคนเพียงคนเดียวที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว เจ้าจำเป็นต้องเข้าใจสิ่งนี้ เพราะทุกสถานการณ์มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

   ซึ่งในบทแห่งไฟนี้จะพูดถึงการฝึกฝนทุกวัน พิจารณาและตัดสินใจในทุกๆการเคลื่อนที่อย่างเด็ดเดี่ยวรวมถึงการไม่ปล่อยให้จิตใจย่อหย่อน ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ำสำคัญในศิลปะการสู้ จากเหตุผลต่างๆเหล่านี้ ข้าได้เขียนเกี่ยวกับชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ลงบนบทแห่งไฟนี้'

   บทที่ 4 บทแห่งลม

   ภาคลม มูซาชิได้กล่าวถึง วิชาฝีมือของสำนักอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับสำนักของเขา เขาตั้งชื่อภาคนี้ว่า "ลม" (ซึ่งคำคำนี้ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงคำว่า สไตล์หรือลีลาได้ด้วย) เพื่ออธิบายสไตล์การต่อสู้ของสำนักอื่นๆ เพราะเขามีความเห็นว่า หากไม่รู้จักเรื่องของคนอื่นแล้วจะรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ได้อย่างไร

   'บทแห่งลมนี้ ข้าจะเขียนเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้รูปแบบอื่นๆ เนื่องจากในภาษาจีน ตัวอักษรคำว่า "ลม" มีอีกความหมายนึงคือ "รูปแบบ" ได้เช่นกัน เนื่องจากในสถานที่ฝึกต่างๆก็มีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป ดังนั้นข้าจะเขียนเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ในประเทศนี้และเทคนิค ต่างๆของแต่ละวิชา

   ลม วิชา หรือรูปแบบต่างๆ หากเจ้าไม่เข้าใจผู้อื่น เจ้าย่อมยากที่จะเข้าใจตัวเอง ไม่ว่าจะวิชาหรือวิถีใดๆก็ตามมักจะมีความเชื่อที่ผิดวิสัยอยู่ในตัวมันหากจิตใจเจ้าผิดเพี้ยนไป จนทำให้เจ้าคิดว่า "นี่คือวิถีที่ดี" เจ้าย่อมไปไม่ถึงทางที่ถูกต้อง และเมื่อเจ้าเดินผิดทางไป ช่องว่างอันบิดเบี้ยวขนาดเล็กในใจเจ้าย่อมขยายขึ้น เป็นปรกติที่คนอื่นๆมักจะมองว่า "ศิลปะการต่อสู้คือวิถีดาบเพียงอย่างเดียว" แต่กฏและ''เทคนิคของศิลปะการต่อสู้ของข้านั้นให้ความสำคัญกับอย่างอื่นมากกว่า ซึ่งข้าจะเขียนไว้ใน บทนี้เพื่อให้ความรู้เจ้าเกี่ยวกับ

   ศิลปะการต่อสู้ในโลกนี้ บทนี้แปลยากมากครับ แต่สรุปง่ายๆคือ "รู้เขารู้เรา" นั่นแหละครับ

   บทที่ 5 บทแห่งความว่าง หรือ สุญตา

   ภาคสุญตา ของคัมภีร์ห้าห่วงนั้น มูซาชิบอกว่า เขาต้องการพูดถึง เรื่องที่ลึกล้ำ ที่เป็นปากทางเข้าสู่อภิมรรค โดยเขาต้องการจะชี้ให้เห็นว่า เมื่อบรรลุอภิมรรคแล้วก็จงเป็นอิสระจากอภิมรรคนั้นเสีย จงเป็นอิสระจากวิถีกลยุทธ์ และวิถีวิทยายุทธ์เสียเถิด เพื่อก้าวเข้าสู่สภาวะอันสุดแสนพิสดารพันลึกของจิต นี่แหละจึงเป็นการเดินเข้าสู่อภิมรรคที่แท้จริง ที่เรียกกันว่า วิถีแห่งสุญตา

   'บทนี้ข้าได้เขียนขึ้น โดยความว่างเปล่าที่ถ้าพูดไม่ได้หมายความถึง "ภายในจิตใจ" หรือ "ทางเข้า" จงปล่อย "การเข้าถึงในหลักการ" เอาไว้''"วิถีแห่งศิลปะการต่อสู้" คือ "ความอิสระโดยธรรมชาติ" เจ้าย่อมได้ความแข็งแกร่งที่เพิ่มขึ้น เจ้ารู้จังหวะการเคลื่อนไหว เจ้าจะเข้าโจมตีและฟัน''โดนได้โดยธรรมชาติของเจ้าเอง ทั้งหมดนี้คือวิถีแห่งความว่างเปล่า''ทั้งหมดนี้ข้าได้เขียนไว้ในบทแห่งความว่างเปล่า ซึ่งเจ้าย่อมสามารถเข้าสู่ "วิถีที่ถูกต้อง" ได้โดยธรรมชาติของเจ้าเอง'

มิยะโมะโตะ มุซะชิ
หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ มิยะโมะโตะ มุซะชิ มาก่อน แต่ประวัติของบุคคลเรืองนามผู้นี้เป็นอย่างไร เราลองมาติดตามดูครับ ตามที่ปรากฏในหนังสือชื่อ “คัมภีร์ห้าห่วง (五輪書, Go Rin No Sho)” ซึ่งมิยะโมะโตะ มุซะชิเป็นผู้ที่แต่งขึ้นเอง ในหนังสือระบุไว้ว่าเขาเกิดเมื่อ ค.ศ. 1584 ที่จังหวัดฮาริมะ (播磨国, Harima) ในประเทศญี่ปุ่น มีชื่อเดิมว่าชินเมน มุซะชิ (新免武蔵, Shinmen Musashi) พ่อของมุซะชิชื่อว่าชินเมน มุนิไซ (新免無二斎,  Shinmen Munisai) ซึ่งก็เป็นนักดาบที่มีชื่อเสียงด้วยเช่นกัน
มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน1] T10

ตลอดชีวิตของมุซะชิ เขาได้ต่อสู้มากกว่า 60 ครั้งและไม่เคยแพ้ใครเลย การต่อสู้เริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อเขามีอายุได้เพียงแค่ 13 ปี เขาต่อสู้กับ อาริมะ คิเฮ (Arima Kihei ) ผู้เชี่ยวชาญวิชาดาบ สำนักคาชิม่าชินโตริว (鹿島新当流, Kashima Shintō-ryū) ผลของการดวลในครั้งนั้นคือมุซะชิได้ฆ่าคู่ต่อสู้ตาย

ในปี 1600 ได้เกิดสงครามระหว่างตระกูล โทโยโทมิ (Toyotomi) กับตระกูล โตกุกาว่า (Tokugawa) ซึ่งมุซะชิก็เข้าร่วมสงครามครั้งนี้ด้วย โดยอยู่ข้างตระกูลโทโยโทมิ ซึ่งต่อมาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้มุซะชิต้องหลบหนีภัยสงครามไปช่วงหนึ่ง

ต่อมาขณะที่มุซะชิมีอายุได้ 20 - 21 ปี เขาเดินทางไปยังเมืองเกียวโต ซึ่งที่นี่มุซะชิได้ต่อสู้กับสำนักดาบโยชิโอกะซึ่งเป็นสำนักดาบที่มีชื่อเสียงอย่างมากในเมืองเกียวโต การต่อสู้มีทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งแรกต่อสู้กับ โยชิโอกะ เซจูโร่ (Yoshioka Seijūrō) ครั้งที่ 2 กับ โยชิโอกะ เดนชิจิโร่ (Yoshioka Denshichirō) ครั้งที่ 3 กับเด็กอายุเพียงแค่ 12  ปีชื่อว่า โยชิโอกะ มาตาชิจิโร่ (Yoshioka Matashichiro) ซึ่งต้องกลายมาเป็นเจ้าสำนักต่อจากเซจูโร่และเดนชิจิโร่ คราวนี้ไม่ใช่เป็นการต่อสู้หนึ่งต่อหนึ่งแต่เป็นการที่สำนักดาบโยชิโอกะรุมมุซะชิคนเดียว ในครั้งนี้มุซะชิได้ฆ่ามาตาชิจิโร่และคนอื่นๆ ไปมากมาย และสำนักดาบโยชิโอกะก็ถูกทำลายลงไป นี่ยังเป็นครั้งแรกที่มุซะชิใช้ดาบสองมือ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวิชาดาบเฉพาะตัวของเขาที่เรียกว่า นิเทนอิจิริว (二天一流)

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน1] 6
เคียวโซ่ (鎖鎌, kusarigama)

มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน1] J
หลังจากนั้นเขาได้ต่อสู้กับนักสู้ที่มีชื่อเสียงอีกหลายคนเช่น ชิชิโดะ ไบเคน (宍戸梅軒, Shishido Baiken) ผู้ที่เชี่ยวชาญในวิชา เคียวโซ่ (鎖鎌, kusarigama) มุโซ กอนโนสุเกะ คัทสุโยชิ (夢想權之助勝吉, Musō Gonnosuke) ผู้ให้กำเนิดวิชาการต่อสู้ด้วยไม้ที่เรียกว่า จิโอะ (杖:じょう,  jō)


แต่การต่อสู้ครั้งสำคัญที่สุดก็คือการต่อสู้กับ ซาซากิ โคจิโร่ (佐々木 小次郎, Sasaki Kojirō) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1612 ขณะที่มุซะชิมีอายุราว 30 ปี การต่อสู้เกิดขึ้นที่เกาะกันริวจิมะ (巌流島, Ganryūjima) มุซะชิต่อสู้โดยใช้ดาบไม้ที่เขาเหลาจากไม้พายเรือหักระหว่างที่เขานั่งเรือข้ามทะเลไปเพื่อต่อสู้ มุซะชิไปสาย ปล่อยให้โคจิโร่รอ และเมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้น มันก็จบลงอย่างรวดเร็ว โดยแน่นอนว่ามุซะชิเป็นฝ่ายชนะ คุณสามารถดูฉากอ้างอิงการต่อสู้ดังกล่าวได้ด้านล่าง...

One of the most famous duel(1612) in Japanese samurai history.
Kojiro said "You can't kill me with that shabby wooden stick."
Musashi said "You've lost because you threw away the sheath."
Kojiro answered "I won't use this bloody sword after killing you."

นอกจากวิชาดาบแล้ว มุซะชิยังสนใจการวาดรูป การแกะไม้และพุทธศาสนา มุซะชิได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มได้แก่

1. กระจกแห่งวิถีกลยุทธ (Hyodokyo)
2. กลยุทธ 35 ข้อ (Hyoho Sanjugo Kajo)
3. กลยุทธ 42 ข้อ (Hyoho Shijuni Kajo)
4. วิถีแห่งการก้าวเดินโดยลำพัง (独行道, Dokkōdō)
5. คัมภีร์ห้าห่วง (五輪書,Go Rin No Sho)
มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน1] E
ภาพนกกระเต็นเกาะบนกิ่งไม้
วาดโดยมิยะโมะโตะ มุซะชิ
คัมภีร์ห้าห่วง เขียนโดยมิยะโมะโตะ มุซะชิ ฉบับแปลไทย

เชื่อกันว่ามุซะชิอาจเสียชีวิตตามธรรมชาติหรือไม่ก็ด้วยโรคมะเร็งในช่องท้องในปี ค.ศ.1645 ขณะมีอายุได้ 61 ปีเขาตายอย่างสงบหลังจากที่เขียนหนังสือเล่มสุดท้ายคือ วิถีแห่งการก้าวเดินโดยลำพัง (独行道, Dokkōdō) ซึ่งเป็นหลักการ 12 ประการเพื่อเป็นการชี้นำคนรุ่นต่อไป ร่างของมุซะชิถูกฝังอย่างสงบในหมู่บ้านยูเงะ (弓削町, Yuge-chō) ซึ่งอยู่ใกล้กับเขาอิวาโตะ (Iwato)
มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน1] 768
ป้ายอนุสรณ์แสดงความคารวะแด่มิยะโมะโตะ มุซะชิ อักษรจารึกบนป้ายสลักไว้ว่า เซชิน โชคุโด (Seishin Chokudo) หมายความว่า หัวใจที่มุ่งมั่นและหนทางที่เที่ยงแท้ ซึ่งเป็นข้อความเดียวกับที่อยู่บนดาบไม้ของมิยะโมะโตะ มุซะชิด้วยเช่นกัน ป้ายนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เชื่อกันว่ามุซะชิเคยอาศัยอยู่ ที่โคคุระ (小倉, kokura)
มูซาชิ คัมภีร์ 5 ห่วง [ตอน1] -Qwy1f0DONwDA5LwfJTjUuG7ou7ZdYUImO8m-cCu_eQV2V8NPI1MdRZ3xWXwYsmo9COJ877aal1Xw4Cga6LoOBJ5x3wWcbjSfKqMY9Tt9jG6Q1YGlxNvxD_xaHlYpL1bsbMs6M4raN1X42xxO5ODqw0pmML6C-V5gQFnqemFMK2FHwxwZVlDjjQp2pFVDkrcle2ysKj50CUu44C1cXPB-Ahd9-PSZaYW3v8-hpzxNDB59n3E5iJco0YLiMaiAKKvbsivtI0XI9RRmO039HNYJun3B5CcLSmiqj50boutZVxBpRbZGAdp6ipqanU68RH2C17-WzigftZrUnUA0sCwIpORBLHyx3NDw7nIIInKisAPJTSnS4bJJHQuM5x8sBt1VpnAUVSud7nUAEFW6W86ne1zjgpJ3OFI7zn0uO8anjUcvakSHQnHsYPmxTkwOwYPF2Yf8OVbbih6JAVreOUNZLyOyMteSRxkXlO0Yt3LUPAQl9mE9yzF1AHTkSKWoJdw5Q7wYgmgY2syGIxdYEGGjg-Uw_7xL8SSCbKBVKmLyVorQmtNW9Er6_y_ndt_OUUyezYXMcHctAIKv-QZeQS93e6kQ49qc7Sj7s68lgtzBRznrO2G7w=s400-no
คัมภีร์ 5 ห่วง
วิถีแห่งดาบ มิยาโมโต้ มุซาชิ (ย่อ)

ต้นเดือนสิบ ปีที่ 20 แห่งราชวงศ์ "คาเนอิ" (ค.ศ.1645) "ชินเมน มุซาชิ โน คามิ ฟูจิวารา โน เก็นชิ" ในวัย 60 ปี ได้ขึ้นสู่ยอดเขา อิวาโตะ ในคิวชู เพื่อสักการะต่อฟ้าและสวดมนต์ระลึกถึงคุณแห่งพุทธองค์และเจ้าแม่กวนอิม ก่อนจะจรดพู่กันเขียน "คัมภีร์ 5 ห่วง" อันเป็นแนวทางที่จะบรรลุถึงวิถีแห่ง "กลยุทธ์" (เฮอิโฮ) ที่เขาเรียกว่า "นิ เตน อิจิ ริว" และได้หมั่นฝึกฝนมาเป็นเวลาหลายสิบปี

"มุซาชิ" กล่าวถึงความเป็นมาของตนเองว่า ได้อุทิศตนให้กับวิถีแห่งกลยุทธ์ตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย เพียงอายุ 13 ปีก็ได้โค่น "อะริมา คิเฮอิ" จากสำนักชินโต พออายุได้ 16 ปี ก็มีชัยเหนือ "ทาตาชิม่า อากิยาม่า" หลังจากนั้น 5 ปี จึงมุ่งหน้าสู่เกียวโต เมืองหลวงที่ชุมนุมยอดฝีมือคับคั่ง เพื่อปะดาบกับผู้มีฝีมือที่หลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ และไม่เคยมีครั้งใดเลยที่จะปราชัย

หลังจากนั้นจึงท่องตระเวนไปทั่วทั้งแผ่นดิน เพื่อหาคู่มือเปรียบติด น่าเสียดายว่า ตลอดการประลองกว่า 60 ครั้ง ในช่วงอายุ 13 ถึง 29 ปี "มุซาชิ" ไม่เคยหยิบยื่นชัยชนะให้กับผู้ใด

เมื่ออายุล่วงเข้า 30 จึงพิจารณาไตร่ตรองถึงการประลองที่ผ่านมาในอดีต และพบว่า ที่ตนสามารถมีชัยเหนือคู่ต่อสู้ นอกจากจะอาศัยโครงสร้างร่างกายอันแข็งแกร่งบวกกับพรสวรรค์แล้ว บางครั้งก็เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องของคู่ต่อสู้เอง เหนืออื่นใดคือ ตนเองมีกลยุทธ์ที่จะเป็นผู้พิชิต

"มุซาชิ" ใช้เวลากว่า 20 ปีในการฝึกฝนและศึกษาถึงกลยุทธ์นี้ จวบจนอายุล่วงเข้า 50 ปี จึงสามารถกล่าวได้ว่าค้นพบ "วิถีแห่งกลยุทธ์"

เมื่อบรรลุถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ "มุซาชิ" ก็พลันเจนจบสรรพ "ศาสตร์" และ "ศิลป์" ทั้งปวงได้ โดยไม่ต้องมีผู้ฝึกสอน แม้แต่ "คัมภีร์ 5 ห่วง" เล่มนี้ ก็เขียนขึ้นโดยไม่ได้อ้างอิงถึงคำสอนหรือตำราใด ๆ ที่เคยมีมาในอดีต

โดยที่โครงร่างของ "คัมภีร์ 5 ห่วง" นี้ แบ่งออกเป็น 5 บท คือ "ภาคดิน" "ภาคน้ำ" "ภาคไฟ" "ภาคลม" และ "ภาคความว่าง" '
ขึ้นไปข้างบน
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ